“ในตำนานเกี่ยวกับเทพเจ้าของกรีกรวมทั้งกวีนิพนธ์ของ โฮเมอร์ ปราชญ์ใหญ่เรื่อง อีเลียดกับโอดิสซีย์นั้น ได้มีการเอ่ยอ้างถึงการต่อสู้ ระหว่างวีรบุรุษกับอสุรสัตว์ไว้มากมาย มีภาพเขียนและประติมากรรมแสดงถึงอสุรสัตว์เหล่านี้ไว้ด้วย ทำให้นักโบราณคดีต่างพากันพิศวงว่าสัตว์ใหญ่รูปร่างประหลาดทั้งหลายนี้มีตัวตนจริงหรือไม่”
ภาพเขียนที่ปรากฏบนโถจะเห็นภาพเจ้าหญิงดเฮสิโอเนป้องกันตนเองด้วยการขว้างก้อนหินใส่มัน ก้อนหนึ่งโดนที่บริเวณตา ส่วนอีกก้อนเข้าไปในปาก ฝ่ายเฮอร์คิวลิสก็ยิงธนูดั่งฝ่าฝนเข้าใส่สัตว์ร้าย
นั้นเองที่ทำให้ เซอร์จอห์น บรอดแมนศาสตราจารย์ทางโบราณคดีจึงวิจารณ์ว่า สัตว์ร้ายแห่งกรุงทรอยนี้มันช่างไม่มีศิลปะเอาเสียเลย เป็นแค่หัวที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีความหมาย แต่ คาร์ เซโฟลด์ ชาวสวิสผู้คว่ำหวอดอยู่กับโถใบนี้เขาบอกว่าจิตรกรผู้วาดคงตั้งใจวาดให้ดูขบขันมากกว่า
แต่มีหลายคนแย้งว่าบางทีจิตรกรเขาคงตั้งใจวาดและเป็นคนแก่ในการวาดภาพ เนื่องจากภาพที่ออกมาดูเหมาะจะมีขนาดพอเหมาะพอเจาะกับขนาดของโถ และคงไม่ได้เขียนเพราะอารมณ์ขัน ซึ่งเธอคิดว่าเขาคงจะใช้ตัวจริงของมันในธรรมชาติมาเป็นแบบมากกว่า ซึ่งทำให้มันต่างจากเคโตสตัวอื่นๆ ที่มีมา!!
ลีคาสได้ยินแล้วก็แสร้งทำเป็นว่าตนเองถูกเนรเทศออกไปจากสปาร์ค้าแล้วเข้าไปขอเช่าห้องพักจากช่างตีเหล็ก ตกกลางคืนเมื่อสบโอกาสเหมาะลีคาสก็แอบไปขุดกระดูกนั้นแล้วนำกลับไปสปาร์ตาเพื่อทำพิธีฝังกระดูกโอเรสตีสอย่างสมเกียรติ หลังจากนั้นสปาร์ตาก็มีอำนาจเหนือคาบสมุทรเปโลปอนนีเซอย่างเด็ดขาด
นอกจากกระดูกโอเรสตีสแล้ว ชาวกรีกสมัยนั้นยังขุดค้นพบกระดูกวีรบุรุษอื่นๆ ตลอดจนยักษ์และสัตว์ในเทพนิยายอีกด้วย ซึ่งแต่ละชิ้นมีขนาดใหญ่ยักษ์ทั้งสิ้นเอเดรียน เมเยอร์ นักตำนานศาสตร์ เธอออกค้นคว้าหาร่องรอยของอสุรสัตว์ที่ปรากฏในตำนานกรีกโบราณ เธอเดินทางไปศึกษาในปี ค.ศ. 1982 ก็คือเกาะซามอส แห่งทะเลเอเจียน ณ ที่นี้ เคยเป็นสมรภูมินองเลือดซึ่งกวีกรีกนาม พลูตาร์ช ได้รจนาไว้ถึงการศึกระหว่าง ไดโอนีซุส ผู้ได้ สมญาว่าเทพแห่งไวน์กับนักรบสตรีเผ่าอเมซอน ที่เรารู้จักกันดี บนเกาะนี้มีโครงกระดูกโบราณเกลื่อนกลาดอยู่มากมาย จนในพิพิธภัณฑ์ของซามอสมีจัดแสดงห้องหนึ่งโดยเฉพาะที่เรียกว่า “ห้องกระดูก” กล่าวกันว่าห้องนี้เป็นที่รวบรวมกระดูกของเหล่านักรบกรีก หากทว่าโครงกระดูกที่เอเดรียนเห็นนั้น มันมีขนาดใหญ่โตกว่าร่างมนุษย์ธรรมดาถึง 3 เท่า แม้จะรู้ว่าคนโบราณตัวใหญ่กว่าคนปัจจุบัน แต่ก็ดูจะมหึมาเกินไป และสารานุกรมเกี่ยวกับยุคหิน ที่ตีพิมพ์ในปี 1997 ก็ระบุว่า “ใหญ่กว่ามนุษย์ธรรมดา น่าจะเป็นกระดูกสัตว์ยักษ์มากกว่า”
เอเดรียนค้นคว้าต่อไปและพบบันทึกของ ฟิโลสตราตัส ปราชญ์กรีกเขียนไว้ในศตวรรษที่ 2 ถึงเรื่องโครงกระดูกยักษ์ที่จมดินอยู่บนเกาะเล็มนอส ทางตอนเหนือของทะเลเอเจียน และเมื่อเอเดรียนติดตามไปดูโครงกระดูกดังกล่าว เธอก็ต้องตื่นตะลึงเมื่อได้เห็นหัวกะโหลกของร่างนั้นมีขนาดมหึมาด้วยความจุถึง 40-50 ลิตร!
กะโหลกดังกล่าวมีรูกลมเบ้อเริ่มอยู่บริเวณหน้าผาก เมื่อพิเคราะห์แล้วไม่น่าจะใช่รูจมูก ซึ่งทำให้เอเดรียนพลันหวน รำลึกถึงตำนานโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ที่กล่าวถึง ไซคลอป (Cyclop) ยักษ์ตาเดียวที่เลี้ยงฝูงแกะอยู่บนเกาะ และคอยจมเรือที่ผ่านไปมาเพื่อจับมนุษย์กินเป็นอาหารอันโอชะ เมื่อ โอดิสซีอุส วีรบุรุษกรีกเดินทางกลับมาตุภูมิ หลังจากเสร็จสิ้นสงครามกรุงทรอย เขากับสมัครพรรคพวกได้แวะที่เกาะซึ่งไซคลอปอาศัยอยู่แล้วถูกจับขังไว้ในถ้ำ แต่โอดิสซีอุสได้ทำอุบายเอาไม้ยาวทิ่มลูกตาของไซคลอปจนบอดและหลบหนีออกมาได้ก่อนที่มนุษย์จะมาอาศัยในย่านเมดิเตอเรเนียรน ดินแดนย่านนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ช้างแมมม็อธ ช้างมาสโตดอน แรด ยีราฟยักษ์ นกกระจอกเทศ และสัตว์ยักษ์อื่นๆ เมื่อ 23 ล้านปีก่อน ดังนั้นเมื่อชาวกรีกอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานนั่น พวกเขาก็ไม่มีโอกาสพบเห็นมันเป็นๆ แต่ขณะที่พวกเขาทำไร่ไถนา พวกเขาก็มักเจอกระดูกสัตว์พวกนี้พ้นจากดิน หรือเวลาเกิดพายุแผ่นดินไหวกระดูกพวกนี้ก็ปรากฏมาให้เห็น ซึ่งกระดูกพวกนี้มีขนาดใหญ่ไม่เหมือนกระดูกสัตว์ที่เรารู้จัก ก็เลยเหมาว่าเป็นของยักษ์ ของสัตว์ หรือคนในเทพนิยาย พวกเขาเลยเอาฟอสซิลนี้ไปเก็บตามเทวาลัย ซึ่งหลักฐานยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน
แล้วเจ้าเคโตส (Kratos) เป็นสัตว์ชนิดใด?
ริชาร์ด ฟอร์ตเต้ นักบรรพชีวินของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากรุงลอนดอนบอกว่า “นึกไม่ออกทำไมจิตกรถึงวาดได้แบบนี้ อาจเป็นไปได้ว่าเขาอาจเคยเห็นมันติดอยู่บนหน้าผา หรือบางทีอาจเขียนขึ้นจากภาพสเก็ตซ์กะโหลกฟอสซิลของผู้สั่งทำโถให้เขา”
นอกจากนี้ยังมีโถใบหนึ่ง อายุพอๆ ก็โถใบแรก โดยบนโถมีภาพแสดงให้เห็นถึงเปอร์ซีอุสวีรษุรุษคนหนึ่งของกรีกกำลังช่วยแอนโดมีดาให้พ้นจากสัตว์ร้ายแห่งจ๊อปปา (Monster of joppa) ซึ่งสัตว์ร้ายตนนี้มีหัวเช่นเดียวกับตัวที่อยู่บนโถแรกๆ เพียงแต่คราวนี้มันมีเนื้อมีหนังมิใช้กระโหลก แล้วเจ้าเคโตสและสัตว์ร้ายแห่งจ๊อปปามันคือตัวอะไรกันแน่ จะเป็นได้ไหมที่คนโบราณได้พบเห็นตัวมันเป็นๆ และถ่ายทอดในงานศิลปะให้ลูกหลานได้เห็นและขบคิดกัน
ที่มา : ต่วยตูนพิเศษ ฉบับที่ 345 พฤศจิกายน 2546 Cammy ดัดแปลง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
Click to see the code!
To insert emoticon you must added at least one space before the code.